เมนูแนะนำ

Pierre Bourdieu

นักปรัชญา สังคมวิทยา มานุษยวิทยาผู้ต่อต้านโลกาภิวัตน์

Pierre Bourdieu นักสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาชาวฝรั่งเศส ได้จากโลกนี้ไปแล้วเมื่อ 23 มกราคม 2545 ด้วยอายุ 71 ปี งานของเขาได้รับการอ้างอิงในแวดวงมานุษยวิทยามากกว่า Clifford Geertz นักมานุษยวิทยาคนสำคัญอีก

งานเขียนของเขาทรงอิทธิพลต่อการศึกษาสังคมวิทยาอย่างมาก เขาเขียนงานเกี่ยวกับวัฒนธรม ศิลป การเมือง การศึกษา สื่อมวลชน และวรรณกรรม ในช่วงปลายของชีวิต เขามีส่วนในการเคลื่อนไหวต่อต้านความอยุติธรรมในสังคม สนับสนุนการประท้วงของคนงานรถไฟ นักศึกษาและคนเร่ร่อน เขายังเข้าร่วมประท้วงโลกาภิวัตน์

Bourdieu เกิดใน Bearn ในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของฝรั่งเศส ตอนเด็กๆเขาได้เข้าเรียนหนังสือในโรงเรียน École normale superiéure – ที่ซึ่งเขาเรียนหนังสือมากับ Jacques Derrida นักปรัชญาสำคัญอีกคนหนึ่งของฝรั่งเศส เขาสนใจ

เขาเคยถูกเกณฑ์ไปเป็นทหารรับกับกองกำลังกู้ชาติของอัลจีเรีย ก่อนที่จะหันไปสอนหนังสือที่นั่น ช่วง 1959-60 (ฝรั่งเศสให้เอกราชอัลจีเรียในช่วงทศวรรษ 60s) ที่นั่นเขาได้ศึกษาการทำเกษตรกรรมแบบชาวบ้าน และวัฒนธรรมของชาว Berber ซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ในอัลจีเรีย

ปี 1960 เขากลับฝรั่งเศสในฐานะนักมานุษยวิทยาซึ่งเรียนรู้ด้วยตัวของเขาเอง อีกสองปีต่อมา (1962) เขาแต่งงานกับ Marie-Claire Brisard ซึ่งเขามีลูกด้วยกับเธอถึง 3 คน เขาเรียนและสอนมานุษยวิทยาและสังคมวิทยา ที่ University of Paris (1960-62) และ University of Lille (1962-64). ปี 1964 เขาเข้าร่วมกับสถาบัน École pratique des Hautes études ซึ่งทำงานวิจัยเกี่ยวกับประวัติศาสตร์-ปรัชญา ศาสนา และวิทยาศาสตร์กายภาพ . (http://www.ephe.sorbonne.fr/presentUK.htm)ปี 1968 เขาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของ ศูนย์สังคมวิทยาแห่งยุโรป (Centre de Sociologie Européenne) (http://www.ehess.fr/centres/cse/) ที่ที่เขาได้ทำงานบุกเบิกเกี่ยวกับงานวิจัยด้านปัญหาเกี่ยวกัการรักษาระบบอำนาจด้วยการถ่ายทอดจากวัฒนธรรมที่เป็นใหญ่ (Dominant culture) ในหนังสือ La Reproduction (1970) Bourdieu เน้นเรื่องเกี่ยวกับวัฒนธรรมและการศึกษา เขาเห็นว่าความสำเร็จในโรงเรียนหรือสังคม ขึ้นอยู่กับความสามารถส่วนบุคคล ที่จะทำตัวให้อยู่ในกรอบของชนกลุ่มใหญ่ที่ครอบงำสังคม ระบบการศึกษาของฝรั่งเศสทำให้เกิดการแบ่งแยกทางวัฒนธรรมในสังคม นอกจากนั้นความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์ในการเรียนการสอน เป็นเรื่องที่สามารถเชื่อมโยงกับความรุนแรงทางกายภาพซึ่งรัฐทำได้อย่างถูกต้องตามกฏหมาย

ในปี 1997 เขาเขียนหนังสือเรื่อง On Television ซึ่งเขาเรียกทีวีว่าเป็น “สัญลักษณ์ของเครื่องมือในการกดขี่” หนังสือเล่มเล็กๆเล่มนี้กลายเป็นหนังสือขายดีในฝรั่งเศส และเป็นที่โจษจันอย่างมาก เพราะมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับหนังสือของเขา ใครสนใจลองไปหาอ่านบทคัดย่อและปฏิกิริยาจากสื่อต่อหนังสือเล่มนี้ ได้จาก http://eserver.org/clogic/1-2/szeman.html

บทสนทนาซึ่งตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Die Zeit (The Time) ของเยอรมันปี 1999 ระหว่าง Günter Grass, ผู้รับรางวัล Nobel สาขาวรรณกรรมปี 2000 กับ Pierre Bourdieu เกี่ยวกับนักวิชาการที่ขี้ขลาดตาขาว และยอมตกเป็นเบี้ยล่างของอุดมการณ์ที่ใช้ปกครองบ้านเมืองอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิธีคิดแบบ Neoliberalism หรือ เสรีนิยมใหม่ ซึ่งถูกนำมาใช้แม้กระทั่งในหมู่นักการเมืองสังกัดฝ่ายซ้าย (สังคมนิยม) อย่างโทนี่ แบลร์ (นายกฯอังกฤษ จากพรรค Labour) แกร์ฮาร์ด ชเรอเดอร์ (นายกฯ เยอรมัน จากพรรค Social Democrat) และ ลิออเนล ฌอสแปง (อดีตนายกฯ ฝรั่งเศส จากพรรค Socialist)

ในการสนทนา Grass ยังมองว่างานของ Bourdieu เป็นงานเขียนที่มองจากข้างของผู้แพ้ไม่ใช่ผู้ชนะ หรือเรียกว่ามองจากดินขึ้นไปบนฟ้าก็ได้ ตัว Bourdieu เองก็ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงด้านการประท้วง (เคลื่อนไหวทางสังคม) ว่า เดี๋ยวนี้ผู้ประท้วงเริ่มเปิดใจกว้างขึ้น มีการยอมรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์จากภายนอก รับฟังนักวิชาการมากขึ้น เขาเห็นว่าอนาคตการเคลื่อนไหวทางสังคมนั้นจะฝากไว้กับกระบวนการ reflexive social movements คือการเคลื่อนแบบที่รู้จักหันกลับมามองตัวเองด้วย เขาเชื่อว่าพวกสหภาพฯ ทั้งหลายควรจะมีการเปลี่ยนแปลง มีการนิยามบทบาทตนเองใหม่ มีการเปิดกว้างสู่ระดับอินเตอร์ และมีเหตุมีผลมากกว่าเดิม

รำลึกถึง Pierre Bourdieu (1930-2002)