เมนูแนะนำ
Albert Bandura
นักจิตวิทยาผู้คิดทฤษฎี
Social learning theory

แอลเบิร์ต
แบนดูรา เกิดเมื่อวันที่ 4
ธันวาคม 2468 ณ. หมู่บ้าน Mundare
ซึ่งอยู่ตอนเหนือของเมือง
Alberta ในแคนาดา
หลังจากจบมัธยมปลายแล้ว
แบนดูร่าไปทำถนนในแคว้น Yucon
ที่นี่เขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับคนที่มีลักษณะต่างๆกัน
จากเพื่อนร่วมงาน
เขาทำถนนได้เพียงเดือนเดียว
แล้วจึงมาเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย
บริติช โคลัมเบีย
ในแวนคูเวอร์
เขาเลือกเรียนวิชาเอกทางจิตวิทยาด้วยความบังเอิญ
เพราะเขาจะอาศัยรถไปกับนักศึกษาคณะวิศวะและเตรียมแพทย์
ที่มีวิชาเรียนตอนเช้ามากๆทุกวัน
เขาเห็นว่าวิชาทางจิตวิทยาวิชาหนึ่งเปิดสอนตอนเช้าๆพอดี
ซึ่งก็ตรงกับเวลาเดินทางมาถึงมหาวิทยาลัยทุกเช้าของเขา
เขาก็เลยตกลงเรียนวิชาจิตวิทยา
จนเขาติดใจมากๆ
เขาเรียนจบภายใน 3 ปี
พร้อมกับรางวัลเรียนดี
เขามาเรียนปริญญาโทและเอกที่มหาวิทยาลัยไอโอว่า
(Iowa)
ซึ่งมีนักจิตวิทยาชื่อดังหลายคนสอนอยู่ที่นั่น
ขณะที่เรียนนั้น
วันหนึ่งเขาไปออกรอบตีกอล์ฟกับเพื่อน
แล้วก็สังเกตเห็นว่าก๊วนกอล์ฟข้างหน้าเป็นผู้หญิงสองคน
หนึ่งในนั้นคือ
เวอร์จิเนีย วาร์น (Virginia Varne)
ซึ่งเป็นอาจารย์สอนพยาบาล
ที่มหาวิทยาลัยเดียวกัน
ไม่กี่เดือนต่อมาทั้งสองคนก็แต่งงานกัน
หลังจากเรียนจบปริญญาโท
และเอก ในปี 1951 และ 1952
ตามลำดับ
แบนดูราก็ได้เข้าเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย
Stanford (ที่เชลซี
ลูกของคลินตันเรียนอยู่ตอนนี้)
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
ดร. Bandura เป็น
Intern ระดับ Postdoctor ที่ Wichita Guidance Center
ขณะที่ Virginia
ภรรยาของเขาเป็น Supervisor ของ
โรงพยาบาลด้านสูติเวช
ทั้งองคนมีลูกสาวด้วยกัน 2
คน คือ Carol และMary
ดร. Bandura
ชอบงานที่มหาวิทยาลัย Stanford
ตั้งแต่เริ่มสอนในปี 1953
เพราะมีเพื่อนร่วมงานที่เก่ง
นักเรียนที่มีพรสวรรค์
และมีอิสระที่จะค้นคว้าอะไรก็ได้ที่เขาอยากรู้อยากเห็น
วิธีการทำงานของมหาวิทยาลัยเองก็เอื้อต่อการทำงาน
คือไม่ได้เน้นเรื่องการตีพิมพ์ผลงาน
แบบ publish or perish
แต่เน้นเรื่องการสร้างองค์ความรู้มากกว่า
ดร. Bandura
เป็นศาสตราจารย์เมื่อปี 1964
ช่วงปี 1969-70
เป็นนักวิจัยประจำศูนย์ศึกษาพฤติกรรมศาสตร์ขั้นสูง
ปี 1976-77
ทำหน้าที่คณบดีคณะจิตวิทยาของมหาวิทยาลัย
ขณะนี้รับตำแหน่ง David Starr Jordan
Professor of Social Sciences in Psychology
ที่มหาวิทยาลัย Stanford
ตอนที่ ดร.
Bandura เข้ามาสอนใหม่ๆ
คณบดีขณะนั้นคือ ดร. Robert Sears
กำลังศึกษาเกี่ยวกับเหตุของพฤติกรรมทางสังคม
และการเรียนรู้เกี่ยวกับการสร้างอัตลักษณ์
(Identificatory learning) ซึ่ง ดร. Bandura
ก็ได้จับแนวทางเดียวกันนี้มาพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎี
social learning กับ ความก้าวร้าว
ร่วมกับ Richard Walters
ที่เป็นลูกศิษย์ระดับปริญญาเอกของเขาคนแรก
งานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นถึงบทบาทของต้นแบบของพฤติกรรมมนุษย์
โดยผ่านการเรียนรู้จากการสังเกต
ในหนังสือ Aggression: A Social Learning Analysis
(1973) ดร. Bandura
ชี้ให้เห็นว่าผู้คนเรียนรู้ด้วยการสังเกตอย่างไร
และนำไปสู่ความเข้าใจเรื่องการแสดงพฤติกรรมที่ถูกกำหนดด้วยกฎเกณฑ์ด้วยการคิดเอาเอง
และการไม่แสดงพฤติกรรมบางอย่างจากประสบการณ์เสมือนจริง
นอกจากนี้เขายังตีพิมพ์หนังสือ
Social Learning and Personality Development ในปี 1963
อีกด้วย ทฤษฎี Social Learning Theory
ถูกรวบรวมเป็นหนังสือในปี
1977
ช่วงกลางทศวรรษ
1980 ดร. Bandura พัฒนาทฤษฎี Social cognitive
theory ในการทำงานของมนุษย์
ทฤษฎีนี้มีปัจจัยหลักคือ
กระบวนการทางปัญญาความคิด
เลียนแบบ ตีกรอบของตนเอง
และรู้จักมองตนเอง ทฤษฎี
Social cognitive theory
ใช้แนวคิดเกี่ยวกับ Agentic
perspective
ที่เชื่อว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีการจัดระเบียบตนเอง
เป็นผู้แสวงหา
รู้จักมองตนเอง
รวมทั้งควบคุมตนเองได้
ไม่ใช่แค่สิ่งมีชีวิตที่คอยตอบสนองสิ่งเร้าใจสิ่งแวดล้อม
หรือทำอะไรตามใจ
ตามอารมณ์
การกระทำของมนุษย์คือผลพวงของพลวัตรระหว่างปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม
พฤติกรรมและตัวบุคคล
ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนระหว่างกัน
มนุษย์เราเป็นผู้สร้างและผลผลิตของสิ่งแวดล้อม
ซึ่งถูกนำมาวิเคราะห์อย่างละเอียดอีกครั้ง
ในหนังสือ Social Foundations of Thought and Action: A
Social Cognitive Theory
แนวทางวิจัยที่
ดร. Bandura
สนใจคือเรื่องเกี่ยวกับกลไกของการบังคับตนเองเพื่อเอาชนะแรงจูงใจและพฤติกรรมของตนเอง
งานวิจัยอีกแนวหนึ่งที่
ดร. Bandura
สนใจคือมุมมองของผู้คนที่มีต่อความมีประสิทธิภาพของตนเองในการบังคับสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆตัวต่างๆที่กระทบต่อชีวิตของเรา
และส่งผลกระทบต่อการทำงานของจิต
ความเชื่อของผู้คนเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพของเรา
ส่งผลกระทบต่อทางเลือกของเราอย่างมีนัยสำคัญ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีผลต่อแรงจูงใจ
และความอดทนเมื่อต้องเผชิญอุปสรรค
ความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้นั้น
มาจากความมานะอย่างต่อเนื่อง
ความรู้สึกที่ตนเองมีประสิทธิภาพต่ำนั้น
จะเป็นกระบวนการตีกรอบหรือกำหนดตนเอง
ในการประสบความำเร็จนั้น
เราต้องการความรู้สึกมีประสิทธิภาพ
และมีความยืดหยุ่นในการสู้กับอุปสรรคและความไม่เท่าเทียมกัน
แนวทางวิจัยแนวที่สี่ของ
ดร. Bandura คือ
การเรียนรู้เกี่ยวกับการตอบสนองต่อความเครียดและความกดดันเกิดจากอะไร
เมื่อเร็วๆนี้ ดร. Bandura
พยายามสร้างกรอบแนวคิดที่จะอธิบายถึงความสามารถควบคุมตนเอง
จากการชั่งน้ำหนักระหว่างจริยธรรมกับการแสดงออกในทางลบ
การหาความชอบธรรมในการแสดงออกที่แฝงจริยธรรมนั้น
เป็นกลไกในการควบคุมความประพฤติที่ดีอย่างหนึ่ง
การแสดงออกเชิงลบเกิดจากการยอมรับของตนเองและสังคม
เมื่อถูกอ้างด้วยหลักการทางจริยธรรม
นี่พอจะอธิบายได้ว่าทำไมคนเราถึงไม่แสดงอะไรออกมาเพื่อต่อต้านกระบวนการการใช้ความรุนแรงในสังคม
ความสำเร็จทางการงานของ
ดร. Bandura นั้น มากมายนัก
ไม่ว่าจะได้เป็นรางวัลทางวิชาการปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัย
13 แห่ง ทั้งในอเมริกา
และต่างประเทศ
หนังสือที่ถูกแปลเป็นภาษาต่างๆถึง
10 ภาษา
งานเขียนตีพิมพ์ในวารสารวิชาการอีกนับไม่ถ้วน
ในชีวิตส่วนตัว
ครอบครัวของ ดร. Bandura
เชื่อว่า
การมีความสุขนั้นมีความสำคัญมากกว่าการวิเคราะห์
Anova ครอบครัวของ ดร. Bandura
ชอบปีนเขา Sierra
และผาชายฝั่งแถว California และ อะไรก็สู้การใช้เวลาสอง
สามวันอยู่กับกวางมูสบนยอดเขาไม่ได้
แต่ละปี ดร. Bandura
จะพาครอบครัวไปดูโอเปร่าที่
San Francisco Opera
หาอาหารอร่อยๆในแถบ Bay Area (คนรวยอยู่กันมาก)
กิน
กินองุ่นๆอร่อยจากหุบเขา
Napa และ Sonoma (ที่ผลิตไวน์อันลือชื่อของ
California)
และตามประสาคนที่เป็นคุณตา
ดร. Bandura
ชอบที่จะเล่นกับหลานแฝดสองคน
คือ Andy กับ Tim
|