ทฤษฎี

ฉบับที่ 1/2545

Social Learning Theory

ทฤษฎี Social learning theory ของ แบนดูรา (A. Bandura) เน้นความสำคัญของการสังเกตและเอาอย่าง ทรรศนะ และอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อผู้อื่น แบนดูรากล่าวว่า

“ถ้าหากว่าคนเราจะเรียนรู้จากผลของการกระทำของตนเองอย่างเดียว การเรียนรู้อาจเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความมานะบากบั่นเป็นอย่างมาก โดยที่ยังไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องความเสี่ยงในการเรียนรู้ ยังดีที่เราเรียนรู้พฤติกรรมต่างๆโดยการสังเกตผ่านตัวอย่าง จากการสังเกตคนอื่น ทำให้เราเกิดความคิดว่าจะแสดงพฤติกรรมใหม่ๆอย่างไร และในโอกาสอื่นๆต่อมา เราก็ใช้ข้อมูลที่ได้เรียนรู้พวกนี้ มาเป็นไก๊ด์ในการแสดงพฤติกรรม”

ทฤษฎี Social learning theory อธิบายพฤติกรรมมนุษย์จากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างต่อเนื่องระหว่าง ความคิด พฤติกรรม และสิ่งแวดล้อม กระบวนการต่างๆได้แก่

    1. การให้ความสนใจ (Attention) ประกอบด้วยกิจกรรมซึ่งเลียนแบบตัวอย่าง (เป็นสิ่งที่โดดเด่น สร้างความรู้สึกในใจ ซับซ้อน ปรากฏอยู่ทั่วไป มีคุณค่าพอที่จะนำไปใช้ต่อ) และลักษณะการสังเกต (ศักยภาพในการรับรู้ ระดับความตื่นตัว มุมมอง สิ่งที่ตอกย้ำในอดีต)
    2. การเก็บรักษา (Retention) การตีความและกำหนดความหมายของคำพูดและสัญลักษณ์ต่างๆ การจัดระเบียบข้อมูลในสมอง การซ้อมใช้คำพูดและสัญลักษณ์ รวมทั้งการสั่งงานทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้วย
    3. การสั่งงานทางระบบประสาทให้ทำซ้ำ (Motor reproduction) ศักยภาพทางกายภาพ การสังเกตการทำซ้ำของตนเอง การโต้ตอบที่แม่นยำ
    4. แรงจูงใจ (Motivation) เป็นเรื่องภายนอก ประสบการณ์ที่เกิดจากการจินตนาการด้วยการดูหรืออ่านเกี่ยวกับคนอื่นและตอกย้ำด้วยตนเอง

กรอบคิดของทฤษฎีนี้เกี่ยวข้องกับความคิด และพฤติกรรม เนื่องจากเกี่ยวข้องกับเรื่องความสนใจ ความจำ และแรงจูงใจ ซึ่งปรับมาจากแบบจำลองของ Miller & Dollard (1941) ซึ่งเน้นการตีความด้านพฤติกรรมอย่างเดียว

ขอบเขตและการนำไปใช้

ทฤษฎี Social learning theory ถูกนำมาอธิบายความก้าวร้าว จิตวิทยาความผิดปกติ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นอกจากนี้ยังเป็นพื้นฐานทางทฤษฎีของการแสดงพฤติกรรมตัวอย่างซึ่งใช้ในการฝึกอบรมต่างๆ แบนดูราเน้นการศึกษาเกี่ยวกับ ความมีประสิทธิภาพของตนเองในบริบทที่หลากหลาย

ตัวอย่าง

เราเรียนรู้หลายสิ่งหลายอย่างผ่านโฆษณาทีวี โฆษณามักจะชี้นำว่าการดื่มเครื่องดื่มบางอย่าง หรือใช้ยาสระผมบางยี่ห้อทำให้เราเป็นที่สนอกสนใจจากคนรอบข้าง และมักจะมีคนสวยๆหรือหล่อๆเข้ามาหา ขึ้นอยู่กับกระบวนการต่างๆที่เกี่ยวข้อง เช่นความสนใจหรือแรงจูงใจ เราอาจเลียนแบบพฤติกรรมที่อยู่ในโฆษณา และซื้อสินค้าที่เขาโฆษณากันไปตามระเบียบ

หลักการ

    1. ระดับการเรียนรู้ผ่านการสังเกตดู จะเกิดขึ้นได้ด้วยการรู้จักจัดระเบียบและซักซ้อมพฤติกรรมที่เลียนแบบอย่างมีความหมาย และนำไปใช้อย่างเปิดเผย การแปลงพฤติกรรมที่เลียนแบบมา ในรูปของคำพูด ตรา หรือภาพ จะถูกเก็บไว้ในหัว ได้ดีกว่าการสังเกตเฉยๆ
    2. คนเรามีแนวโน้มที่จะยอมรับพฤติกรรมที่เราเห็นว่าน่าจะเอาอย่าง ถ้าพฤติกรรมนั้นทำให้เกิดผลที่เราเห็นว่ามีคุณค่าพอ
    3. คนเรามีแนวโน้มที่จะยอมรับพฤติกรรมที่เราเห็นว่าน่าจะเอาอย่าง ถ้าต้นแบบพฤติกรรมนั้นมีความคล้ายคลึงกับเรา และเรานับถือสถานภาพและพฤติกรรมซึ่งมีคุณค่าพอที่จะนำไปใช้ได้จริง

อ่านงานทดลองด้านการเรียนรู้เรื่องความก้าวร้าวกับเด็กๆที่เรียกว่า Bobo doll Experiment ซึ่งเป็นงานคลาสสิกของแบนดูรา ได้จากนี่ >>>อ่านต่อ<<<

References:

Bandura, A. (1993). Perceived self-efficacy in cognitive development and functioning. Educational Psychologist, 28(2), 117-148.

Bandura, A. (1986). Social Foundations of Thought and Action. Engelwood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bandura, A. (1973). Aggression: A Social Learning Analysis. Englewood CLiffs, NJ: Prentice-Hall.

Bandura, A. (1971). Social Learning Theory. New York: General Learning Press.

Bandura, A. (1969). Principles of Behavior Modification. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Bandura, A. & Walters, R. (1963). Social Learning and Personality Development. New York: Holt, Rinehart & Winston.

Miller, N. & Dollard, J. (1941). Social Learning and Imitation. New Haven, NJ: Yale University Press.