หลักการคิดและเขียน Research Project

เกมปีนบันไดแก้สมการงานวิจัย

กฎ กติกา มารยา:

เกมนี้มีผู้เล่นอย่างน้อย 2 คน คือผู้ทำวิจัยกับที่ปรึกษา ทั้งสองฝ่ายทำหน้าที่เกื้อหนุนกัน เพื่อให้ผู้ทำวิจัยไปถึงเส้นชัยอย่างมีคุณภาพ การเดินหมากขึ้นอยู่กับตัวผู้ทำวิจัยเป็นหลัก การเล่นไม่ได้ทอดลูกเต๋า แม่เต๋า หรือ พ่อเต๋าในการเดิน การเดินต้องเดินไปทีละขั้นอย่างระมัดระวัง และใช้เวลาเป็นเดิมพัน เพราะถ้าทำไม่เสร็จทันเส้นตาย (deadline) ให้ส่งงานวิจัย ผู้ทำวิจัยก็เสร็จ ตายตรงเส้นเอง ส่วนที่ปรึกษาก็อยู่ดี กินอร่อยไปตามเรื่อง

ระหว่างการทำวิจัยผู้ทำวิจัยจะได้รับรู้รสชาดของชีวิตทั้ง "เปรี้ยว" (การแต่งกาย) "หวาน" (ความง่ายของงาน) "มัน" (ความสนุก) "เค็ม" (งบประมาณ) และอาจมีเผ็ดผสมด้วย ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆมากมายอย่างคณานับอีก

ข้างล่างนี้เป็นกระดานสำหรับเกมปีนบันไดแก้สมการงานวิจัย ซึ่งมีขั้นตอนแค่ 4-5 ขั้นใหญ่ๆ แต่ความจริงนั้นแล้วยังไม่ได้รวมขั้นก่อนเริ่มทำวิจัย ขี้เกียจพูดถึง เดี๋ยวมันจะยาวไปเรื่อย คืออาจสาวลึกไปถึงการอบรมเลี้ยงดูในวัยเด็ก การพิสูจน์ DNA  หาว่าคนทำวิจัยฉลาดหรือโง่เพราะสืบเชื้อสายมาจากใคร ยุ่งเปล่าๆ แค่ 20 ช่องนี่ก็เวียนหัวเต็มเหยียดแล้ว

เอาเป็นว่าผู้วิจัยอาจพิมพ์กระดานเกมนี้ไปแปะติดข้างฝาเพื่อดูว่าขณะนี้หมากของเราเดินไปถึงช่องไหนแล้ว

ขั้นตอนต่างๆแบ่งกลุ่มตามสี
1. ขั้นเข้าสมการ
2. ขั้นวิธีทำ
3. ขั้นลงมือทำ
4. ขั้นนำเสนอผล
5. ขั้นผลลัพท์
6. ขั้นเลิกแล้วฮ่ะ

 

20

เส้นชัย

19

ฉันได้อะไรจากงานวิจัย?

18

งานวิจัยให้อะไรกับสังคม

17

งานวิจัยให้อะไรกับวิชาการ

16

ขณะสอบปากเปล่า

11

ไอเดียในการวิเคราะห์

12

ปรึกษาที่ปรึกษา

13

นำเสนอผล

14

เขียนสรุป

15

เตรียมสอบปากเปล่า

10

ทบทวนวรรณกรรม

9

ลงมือทำ

8

สอบเค้าโครงงานวิจัย

7

เขียนเค้าโครงงานวิจัย

6

แผนการทำวิจัย

Start-เริ่ม --->  1

คิดประเด็น

2

แรงจูงใจ+ทักษะ

3

เวลา

4

วางแผน-กลยุทธ์

5

เลือกหัวข้อ