Le CAFE
Services
OurBirth
Perspectives on communication studies
Editor's views
Editors
Front page!
Collection of articles
Join the discussion
Your feedback
CAFE E-Newsletters

 

มุม CAFE

การศึกษาด้าน Communication

ขอบเขตการศึกษาด้าน Communication กับสาขาวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (ตามแนวของ ICA)

01-ระบบข้อมูลข่าวสาร 

(Information system)

02-การสื่อสารระหว่างบุคคล - การสื่อสารในหมู่คณะ

(Interpersonal-Small Group Communication)

03-สื่อสารมวลชน (รวมทั้ง วารสารและวิทยุโทรทัศน์)

(Mass Communication - Journalism, Advertising)

04-การสื่อสารระดับองค์กร 

(Organizational Communication)

05-การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม และนิเทศพัฒนาการ

(Intercultural/ Development Communication)

06-การสื่อสารการเมือง 

(Political Communication)

07-การสื่อสารการสอน และพัฒนาการมนุษย์ 

(Instructional/ Human Developmental Communication)

08-การสื่อสารเพื่อการสาธารณสุข 

(Health Communication)

09-ปรัชญาและทฤษฎีการสื่อสาร 

(Philosophy of Communication - Communication Theory)

10-การสื่อสารและเทคโนโลยี 

(Communication and Technology)

11-การสื่อสารทางวัฒนธรรมชาวบ้าน และการแสดง  

(Popular Communication - Performing arts)

12-ประชาสัมพันธ์-โฆษณา

(Public Relations, Advertising)

13-วิชาการด้านสตรีนิยม-สิทธืสตรี

(Feminist Scholarship)

14-นโยบายและกฎหมายการสื่อสาร 

(Communication Law and Policy)

15-ภาษาและการปฏิสัมพันธ์ในสังคม 

(Language and Social Interaction)

16-การสื่อสารด้วยภาพ-กราฟิก ดีไซน์  

(Visual Communication)

17-การศึกษาด้านเกย์ เลสเบี้ยน เสือไบ (ไบเซ็กช่วล)  และการแปลงเพศ 

(Gay, Lesbian, Bisexual & Transgender studies)

 

 

 

เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาด้าน Communication บทความในหน้านี้ จะแนะนำขอบเขตการศึกษาด้าน Communication ตามที่ชาวบ้านประเทศอื่นๆเขาจัดประเภทไว้ ผู้อ่านจะได้สะดวกใจว่า Communicationหาได้จำกัดวงเฉพาะสื่อเท่านั้นไม่ และสบายใจว่าเรื่อง Communication นั้น สามารถศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆในสังคมได้อย่างกว้างขวาง

แม้คณะนิเทศศาสตร์นับเป็นคณะยอดนิยมสำหรับนักศึกษาในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท แต่โครงสร้างการแบ่งภาควิชา ก็มักเป็นไปตามวิชาชีพที่นักศึกษาคาดว่าจะนำวิชาความรู้ไปทำมาหากิน (ประกอบอาชีพ) ได้ อาทิภาควิชาโฆษณา ประชาสัมพันธ์ สื่อสารการตลาด วารสารศาสตร์ วิทยุ-โทรทัศน์ และสื่อสารมวลชน เป็นต้น ซึ่งมีนัยเชิงปฏิบัติ

อย่างไรก็ตาม เมื่อนักศึกษาได้เข้าเรียนในระดับปริญญาโทแล้ว มักพบว่าความเข้าใจเกี่ยวกับงานภาคปฏิบัติกับทฤษฎีที่นำมาเป็นกรอบการศึกษา มักจะไม่ค่อยจะสอดคล้องกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะการตีกรอบการศึกษาด้วยวิชาชีพ หาได้เป็นไปตามปรัชญาไม่ (เพราะปรัชญาเป็นนามธรรม คนทั่วไปเข้าใจยาก สู้การนำเสนอชาวบ้านด้วยวิชาชีพไม่ได้ เพราะมีตัวตน เห็นได้ชัดว่าจบแล้ว เอาวิชาไปทำมาหากินได้)  นอกจากนั้น สิ่งที่ถูกสอนในห้องเรียนอาจเป็นงานวิจัยหรือทฤษฎีเก่าๆรุ่น 30-40 ปีมาแล้ว ซึ่งก็ไม่สามารถจะอธิบายปรากฏการณ์ในปัจจุบันได้ดีนัก 

ผู้เรียนทางด้านนิเทศศาสตร์จึงควรคำนึงว่า นิเทศศาสตร์เป็นการศึกษาด้านการสื่อสารรูปแบบต่างๆในสังคม  ตัวของสังคมและวัฒนธรรมเองก็มิได้หยุดนิ่ง มีพลวัตเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา องค์ความรู้ทางทฤษฎีด้าน Communication จึงไม่สามารถถูกพัฒนาด้วยนักวิชาการด้านนี้ได้ทันกาลสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง องค์ความรู้ที่มาจากแนวคิดโครงสร้างนิยม (Structuralism) ซึ่งต้องใช้เวลาพิสูจน์นานมาก  นักวิชาการในปัจจุบันจึงได้หาทางออก ด้วยการหยิบยืมแนวคิดหรือระเบียบวิธีวิจัยจากสาขาวิชาอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ Communication มาใช้ทำความเข้าใจกับปรากฏการณ์ทาง Communication ในสังคม

เดี๋ยวนี้เราจึงเห็นการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์สมัยใหม่ นำเอาองค์ความรู้ด้านระเบียบวิธีวิจัย อาทิ  การวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) การศึกษาชาติพันธุ์วรรณา (Ethnography) วิธีการมานุษยวิธี (Ethnomethodology) จากรัฐศาสตร์ และมานุษยวิทยา เข้ามาศึกษา Communication ขณะเดียวกัน การศึกษาด้านวาทวิทยา (Rhetoric) ซึ่งใฃ้วิเคราะห์สาร (message) ก็ได้รับความสนใจขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการนำเอาทฤษฎีวิพากษ์ (Critical Theory) จาก ปรัชญามาร์กซิสต์ สัญญวิทยา (Semiotics) จากการศึกษาด้านภาษาศาสตร์สังคม (Sociolinguistics) เข้ามาร่วมศึกษาCommunication อีกด้วย 

การแบ่งองค์ความรู้ด้าน Communication จึงควรเลี่ยงการตีกรอบศึกษาเฉพาะทาง ด้วยสาขาวิชาชีพด้านนิเทศศาสตร์ อย่างเช่นในเมืองไทย เพราะจริงๆแล้วขอบเขตการศึกษา Communication นี้กว้างมาก

สมาคมการสื่อสารนานาชาติ (International Communication Association) ได้จัดแบ่งกลุ่มการศึกษาวิจัยด้านต่างๆเป็นกลุ่มๆทั้งหมด 17 กลุ่ม ตามที่แสดงอยู่ในคอลัมน์ด้านซ้ายนี้ เห็นได้ว่าสมาคมฯ แบ่งกลุ่มความสนใจด้านการสื่อสาร ออกตามบริบทเป็นส่วนมาก จะมีก็เพียงการศึกษาด้านสตรีนิยม (Feminism) วัฒนธรรมชาวบ้านนิยม (Popular communication) และเรื่องเกย์ เลสเบี้ยน ไบเซ็กช่วลและพวกแปลงเพศ เท่านั้นที่ดูเหมือนจะเป็นกลุ่มศึกษาเฉพาะทาง

จากการแบ่งกลุ่มการศึกษาทาง Communication ตามบริบทต่างๆ อาทิ การสื่อสารการเมือง การสื่อสารการสอนและพัฒนาการมนุษย์ การสื่อสารสาธารณสุข เราเห็นได้ชัดว่าวิชาด้านนิเทศศาสตร์ เป็นวิชาที่สามารถนำมาใช้ต่อยอดสาขาวิชาด้านอื่นๆได้เป็นจำนวนมาก และหาได้จำกัดอยู่เพียงองค์ความรู้ด้านสื่ออย่างเดียวไม่

ดังนั้น CAFE de Thailand จึงเป็นเวทีที่เปิดกว้างสำหรับการเสวนาประเด็นการศึกษาด้าน Communication  ซึ่งนักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัยจากทุกคณะ ทุกสาขาวิชา ที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับการสื่อสารในสังคมสามารถเสาะหา และแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ โดยไม่จำกัดว่าผู้เข้าร่วมเสวนาเปิดประเด็นนั้นจะสังกัดภาควิชาใด คณะใดหรือแม้แต่สถาบันใด 

ขอความสุขสวัสดีจงมีแต่ท่าน ทุกท่านทุกคนเทอญ

 


กฎ กติกา มารยาท

การร่วมวงเสวนา: CAFE de Thailande ยินดีต้อนรับบทความเสวนาทั้งภาษาไทยและ English ด้าน Communication และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องทุกเรื่องทุกประเด็นไม่ว่าจะเป็นบทความทั่วไป บทความวิชาการ บทคัดย่อ ประกาศ  การ แนะนำหนังสือและ Web site การแสดงความคิดเห็น คำถามและคำอภิปราย การร่วมเสวนานี้ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และไม่ต้องสมัครเป็นสมาชิกใดๆทั้งสิ้น อย่างไรก็ดี บทความเสวนาที่ส่งมานั้นจะได้รับการนำเสนอต่อสาธารณะเพียงครั้งเดียวเท่านั้น โดยส่งบทความร่วมเสวนามาที่ cafethai@yahoo.com <mailto: cafethai@yahoo.com> โดยระบุชื่อ นามสกุล และ e-mail จริง เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจในการนำเสนอข้อมูลและสะดวกสำหรับผู้อื่นที่จะติดต่อกลับได้โดยตรง

การแสดงความคิดเห็น และคำอภิปรายใดๆของผู้ร่วมเสวนา จะเป็นไปตามหลัก Free Speech คือทุกคนมีเสรีภาพในการแสดงความเห็นและพร้อมที่จะรับฟังคำโต้แย้งด้วย พร้อมกันนี้ผู้ร่วมเสวนาต้องพร้อมที่จะแสดงความรับผิดชอบทางกฎหมาย หากคำอภิปรายนั้นไปละเมิดผู้อื่น และมีการฟ้องร้องเกิดขึ้น 

ลิขสิทธิ์บทความเสวนา: บทความทุกบทความใน CAFE de Thailande สามารถนำไปเผยแพร่ต่อไปได้โดยเสรี ในลักษณะที่ไม่เกี่ยวข้องกับการค้า หากต้องการอ้างถึงคำพูดใดๆในลักษณะของการค้า ขอให้ติดต่อขออนุญาตจากผู้ร่วมเสวนาผู้นั้นโดยตรง ยกเว้นกรณีที่ผู้ร่วมเสวนาขอสงวนลิขสิทธิ์บทความไว้ 

กองบรรณาธิการ:

พัฒนพงส์ จาติเกตุ <chatiketu@hotmail.com> และ คณะผู้ก่อการ

สิ้นสุดเนื้อหาในบทความฉบับนี้


สภากาแฟไท: CAFE de Thailande <http://www.geocities.com/cafethai>
Copyright (c) 2000 by Cafe de Thailande. 
Revised: 19 เมษายน 2000 .
Mirror site: http://www.thaiweb.co.th/cafethai