ปาฐกถา "ทุนวัฒนธรรม"

รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ (2539). ปาฐกถา “ทุนวัฒนธรรม” (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: พี. เพรส. ISBN 974-89783-0-4 (29 หน้า-30 บาท). 

"...ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตตามปกติของมนุษย์ กระบวนการยอมรับแบบแผนการดำรงชีวิตและพฤติกรรมใดๆจนเป็นวิถีแห่งชีวิต จึงเป็นปมเงื่อนสำคัญในการทำความเข้าใจกระบวนการแปรวัฒนธรรมเป็นสินค้า..." (น. 18) 

เราอาจจะเข้าใจเรื่องการพนันกับสินค้าวัฒนธรรมอย่างฟุตบอลมากขึ้นจากหนังสือเล่มน้อยๆนี้บ้างไม่มากก็น้อย 

หนังสือเล่มนี้ให้คำอธิบายเชิงเศรษฐศาสตร์ถึงที่มาที่ไปด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตในระบบทุนนิยม การพัฒนาทุนในโลก และการเปลี่ยนไปเป็นทุนวัฒนธรรม รวมทั้งลักษณะของทุนวัฒนธรรม

อ่านแล้วฟังยากแท้

เอาเป็นว่าเรามีพัฒนการจากการเกษตร มาเป็นอุตสาหกรรมการผลิตสินค้า แล้วตอนนี้ทุนนิยมเริ่มหาทางออกใหม่แล้ว ด้วยการเอาวัฒนธรรมเข้ามาแฝงไว้ในตัวสินค้า ตัวอย่างง่ายๆคือเรื่องเพลง เรื่องภาพยนตร์ เรื่องอาหารการกิน (ร้านอาหารญี่ปุ่น เวียดนาม ร้านส้มตำ ฯลฯ) การแต่งกาย กีฬา (Football) ศิลปะ วรรณกรรม (Lord of the Rings, Harry Potter) ซึ่งอุตสาหกรรมสินค้าสารพัดอย่างได้ประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอุตสาหกรรมผลิตเครื่องรับและอุปกรณ์ทีวี วิทยุ รวมทั้งคอมพิวเตอร์ ยังมีเรื่องอุปกรณ์กีฬา เสื้อผ้า รวมทั้งเกมคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ

สรุปง่ายๆว่า ทุนวัฒนธรรมมีลักษณะสำคัญคือ

  • มีนัยทางวัฒนธรรม
  • เป็นทั้งอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ
  • มีการผูกขาดในระดับหนึ่ง
  • สร้างความเข้มแข็ง ด้วยการควบและครอบกิจการ
  • ลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (R & D)
  • พยายามสร้างอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าตลอดเวลา
  • บริษัทข้ามชาติมักจะร่วมทุนกับกลุ่มทุนท้องถิ่น

เราชอบใช้ตัวอย่างเกี่ยวกับมือถือที่สุด คือจะเห็นภาพเลยว่ามีลักษณะทางทุนวัฒนธรรมอย่างไรบ้าง มีนัยทางวัฒนธรรมเพราะคนเราต้องคุยกัน มือถือที่มีค่าคือมือถือที่ใช้โทร.เข้า โทร. ออกได้ การมีมือถือหลายๆเครื่องในสังคมย่อมมีค่าแค่เครื่องเดียว เป็นนัยทั้งการผลิตและบริการ ผูกขาดไหม? ตอบเองเหอะ เมืองไทยมีผู้ให้บริการกี่บริษัทเอง แล้วมีการควบหรือครอบกิจการหรือเปล่า? ลองดูนะ AIS ซื้อมือถือจากสามารถมาทำ GSM 1800 มีผู้ถือหุ้นเป็นสิงคโปร์ (Singtel) และ DTAC ก็ร่วมทุนกับ Telenor ของนอร์เวย์ แล้วก็งบโฆษณามือถือเป็นพันล้านบาทต่อปี เพื่ออะไร? เพื่อยั่วกิเลส สร้างความต้องการต่อสินค้าตลอด ส่วนงานวิจัยและพัฒนานี่คงวิจัยเชิงซอฟท์แวร์ อย่างการใช้ภาษาไทยส่ง SMS หรืออะไรเทือกนั้น

นอกจากนี้ตอนท้ายของหนังสือก็ได้ชี้ให้เห็นถึงอิทธิพลของการค้า เทคโนโลยี และทีวีที่ทำให้เจ้าสินค้าวัฒนธรรมแพร่หลายไปทั่วโลกได้ รวมท้งโครงสร้างการผลิตที่เปลี่ยนจากโรงงานมาเป็นอุตสาหกรรมบริการกันมากขึ้นทุกวันๆ 

ใครที่สนใจทำวิจัยเรื่องเกี่ยวกับเรื่องทุนวัฒนธรรมอย่างฟุตบอลกับการสื่อสารก็ลองจับประเด็นดูนะ น่าสนใจมากๆๆๆ